วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 16 วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน 2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น

ความรู้ที่ได้รับ
อ.ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนหน่วยที่ตนเองได้

ขั้นนำ
ถามปริศนาคำทาย
อะไรเอ่ยเป็นน้ำสีขาว ในกล่องยาว เราใช้ดื่ม
ขั้นสอน
1.นำนมมา2ชนิดให้เด็กดู ได้แก่นมถั่วเหลืองและนมวันรสช็อคโกแลต เพื่อให้เด็กสังเกตลักษณะของนม
2.ถามเด็กว่านมถั่วเหลืองมีสีอะไร นมถั่วเหลืองกลิ่นเป็นอย่างไร นมถั่วเหลืองมีรสชาติอย่างไร และนมถั่วเหลืองลักษณะเป็นน้ำจึงมีสถานะเป็นของเหลวแล้วนำไปติดในตาราง
3.ถามเด็กว่านมช็อคโกแลตมีลักษณะอย่างไรเช่นเดียวกับข้อที่ 2
4.ถามสิ่งที่เหมือนกันและสิ่งที่ต่างกัน โดยทำอินเตอร์เซคกัน (ต้องนำสิ่งที่เหมือนกันมาใส่ก่อน)
ขั้นสรุป
ถามเด็กว่าสิ่งที่เหมือนกันมีอะไรบ้างและสิ่งที่ต่างกันมีอะไรบ้างและสรุปให้เด็กฟัง

นมถั่วเหลือง  
สี ครีม
กลิ่น ถั่วเหลือง
รสชาติ จืด
สถานะ ของเหลว

นมวัวรสช็อคโกแลต
สี น้ำตาล
กลิ่น ช็อคโกแลต
รส หวาน
สถานะ ของเหลว

สิ่งที่เหมือนกัน
สถานะ ของเหลว

สิ่งที่ต่างกัน
สี กลิ่น และ รสชาติ 




การชิมรสชาติของนม




-เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน่วยของตนเอง




หน่วยข้าว





หน่วยไก่

การประยุกต์
ใช้ในการสอน

ประเมินอาจารย์
เมื่อนักศึกษาสอนไม่ถูกต้องอ.จะคอยอธิบายเพิ่มเติมทำให้เข้าใจวิธีการสอนมากยิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง
สอนยังไม่ถูกต้องจะต้องแก้ไขเรื่องการพูดในเสร็จก่อนที่ละชนิด

ประเมินเพื่อน
อาจสอนผิดไปบ้างแต่ก็ตั้งใจสอนเป้นอย่างดี

การบันทึกครั้งที่ 15 วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น

ความรู้ที่ได้รับ
อ.ให้กลุ่มที่ทำหน่วยแบ่งกันว่าแต่ละคนสอนวันไหนบ้างและให้แต่ละคนทำแผนของวันที่ตนได้
ดังนี้
วันจันทร์ กษมา สอนประเภทของนม
วันอังคาร ปรีชญา(ฉัน) สอนลักษณะของนม
วันพุธ วนิดา สอนการถนอมนม
วันพฤหัสบดี ศิริพร สอนประโยชน์และโทษของนม
วันศุกร์ มาณิศา สอนสาธิตการทำอาหารจากนม

หลังจากนั้นอ.ให้ตัวแทนออกมาจับสลากว่าแต่ละกลุ่มได้วันอะไร
วันจันทร์ กลุ่มกล้วย และ พี่อีกคนทำเรื่องร่างกายของฉัน
วันอังคาร กลุ่มนม
วันพุธ กลุ่มข้าวและกลุ่มส้ม
วันพฤหัส กลุ่มส้ม
วันศุกร์ กลุ่มน้ำ

การประยุกต์
เอาไปเขียนแผนการสอนในอนาคต

ประเมินอาจารย์
อ.คอยอธิบายการเขียนแผนทำให้รู้ว่าจะเขียนแบบไหน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเขียนแผนและเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเขียนแผนและตั้งใจเรียน

การบันทึกครั้งที่ 14 วันอังคาร ที่ 8 พฤศจิกายน 2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น

เนื่องจาก อ.ตฤณ ได้ให้ของฉันเป็นตัวแทนสาธิตการสอนการเคลื่อนไหว หน่วผีเสื้อ ให้คณะศึกษาดูงานจากประเทศ ออสเตรีย ดังนั้นอ.ตฤณ จึงขอเวลาเพื่อซ้อมการสอนในคาบของอ.จินตนา ดังนั้นจึงไม่มีการเรียนการสอน



การบันทึกครั้งที่ 13 วันอังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น

ความรู้ที่ได้รับ
อ.ให้แต่ละกลุ่มเปิดวีดีโอ สาธิตการทำของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน
มีดังนี้
กลุ่มที่1พลังปริศนา
https://www.youtube.com/watch?v=Go9zrFhikS8

กลุ่มที่2ขวดบ้าพลัง
https://www.youtube.com/watch?v=7jU51MATe8g

กลุ่มที่3รถแกนหลอดด้าย
https://www.youtube.com/watch?v=QwkwdmlMres

กลุ่มที่4ลูกข่างนักสืบ
https://www.youtube.com/watch?v=8iXxHIRi72I&t=52s

สิ่งที่กลุ่มของฉันต้องปรับปรุงคือ
1.เพิ่มตัวหนังสือประกอบคำพูดและตัวหนังสือขณะที่บอกอุปกรณ์และขั้นตอนการทำ
2.เพิ่งตัวเลขเพื่อกำกับจำนวณ

หลังจากนั้นอ.ให้กลุ่มที่ทำหน่วยต่างๆ เขียนมายแมบปิ้งของแต่ละคน








การประยุกต์ใช้
ให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยการลงมือปฏิบัติ
ประเมินอาจารย์
อ.อธิบายเพิ่มทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและตั้งใจดูบางครั้ง
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจดูเป็นอย่างดี

การบันทึกครั้งที่ 12 วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
อ.ให้ออกมานำเสนอมายแมบปิ้งของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่1ส้ม
กลุ่มที่2ไก่
กลุ่มที่3ข้าว
กลุ่มที่4กล้วย
กลุ่มที่5น้ำ
กลุ่มที่6นม









หน่วยนม



หลังจากนั้นอ.สอนสาระวิทยาศาสตร์8สาระ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้นาการสอน
สาระที่  1   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1. 1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2   เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1  เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2    เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2   เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4   แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว 4.2 ข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ           
                          สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใชประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม   มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 7.2   เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

การประยุกต์ใช้
การทำมายแมบต้องแบ่งเป็น4ส่วนเท่าๆกัน โดยเริ่มจากฝั่งขวาเสมอ
ประเมินอาจารย์
อ.คอยอธิบายเกี่ยวกับการทำมายแมบปิ้ง ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังดี
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจนำเสนอและตั้งใจฟังเพื่อนกลุ่มอื่นนำเสนอเป็นอย่างดี

การบันทึกครั้งที่ 11 วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น

ความรู้ที่ได้รับ
อ.ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน
มีดังนี้
  1.  นาฬิกาทราย 
  2. ลวดเต้นระบำ
  3. วงโคจรของโลก
  4. ทวินเพน
  5. กล่องสุริยะจักรวาล
  6. โรงละคร ผีเสื้อเริ่งระบำ
  7. รางหรรษา
  8. ไข่หรรษา
  9. ภาพใต้น้ำ


นาฬิกาทราย


หลังจากนั้นอ.ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ5คน ทำมายแมบปิ้งเป้นหน่วยต่างๆโดยมีหัวข้อดังนี้
1.ประเภท(ใช้เกณฑ์ในการแบ่ง) /ชนิด
2.ลักษณะ อาจเป็น สี ขนาด รูปทรงเป็นต้น
3.การดูและรักษา/การถนอมอาหาร/การดำรงชีวิต
4.ประโยชน์
5.โทษ/ข้อควรระวัง
แบ่งได้ทั้งหมด 6 กลุ่ม แบ่งเป็นหน่วยดังนี้
1.กล้วย
2.นม
3.ข้าว
4.ไก่
5.น้ำ
6.ส้ม
การประยุกต์ใช้
นำไปสอนเด็กเรื่องหน่วยต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเด็ก
การประเมิน
ประเมินอาจารย์
อ.คอยอธิบายการเลือกหน่วยและสอดแทรกวิทยาศาสตร์อยู่ตลอด
ประเมินตนเอง
ช่วยเพื่อนคิดหน่วยที่จะทำมายแมบปิ้ง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดและทำมายแมบปิ้งเป็นอย่างดี

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10 วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
อ.ให้จับทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เด็กทำตามได้ดดยในถ่ายคลิปลงyoutube
กลุ่มของฉันตัดสินใจกันว่าจะทำลูกข่างนักสืบ



ระดมความคิด



หลังจากนั้นให้นำเสนองาน
กลุ่มที่1 ลูกข่างนักสืบ
กลุ่มที่2 ปืนลม
กลุ่มที่3 แผ่นซีดีเป่าให้ลอย
กลุ่มที่4 รถหลอดด้าย






การประยุกต์ใช้
สอนให้เด้กๆรู้จักเรื่องแสงโดยผ่านของเล่นที่ชื่อว่าลูกข่างนักสืบ
ประเมินอาจารย์
ตอนที่นักศึกษานำเสนอผลงานอ.ก็จะคอยเสริมความรู้ทำให้เรารู้มากยิ่งขึ้น
ประเมินตนเอง
ช่วยเพื่อนดดยการเสนอความคิด และ มีการฟังเพื่อนพูดแต่บางครั้งอาจไม่ค่อยสนใจบ้าง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนช่วยกันทำงานและเสนอความคิดเห็นแต่อาจมีบ้างที่ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์